ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือกระทำการใดๆก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่ข้อมูลรบกวนแชร์บทความแทนเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค๊า ^_^
ติดตามเราได้ที่ FB Page Shibainu Daruma Kensha
Instagram : Daruma Home
ความพยายามในการกำจัดผลกระทบของการผสมข้ามสายพันธุ์
เป็นที่รู้จักกันดีในทุกวันนี้คือสุนัขอาคิตะที่มีขนยาวข้อบกพร่องนี้เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขคาราฟุโต้ (ในภาษาอังกฤษคือพันธุ์ Sakhalin Husky)
ข้อบกพร่องนี้เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขคาราฟุโต้ (ในภาษาอังกฤษคือพันธุ์ Sakhalin Husky) เมื่อปี ค.ศ.1855-1875 สมัยที่เกาะซาฮาลิน ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศญี่ปุ่น มีความพยายามจะเพิ่มขนาดสุนัขพันธุ์อาคิตะโดยการขาดศิลธรรมและจรรยาบรรณ ลูกสุนัขเหล่านี้มักจะไม่ได้รับการออกใบเพ็ดดีกรีและบ่อยครั้งที่ถูกกำจัดทิ้งอย่างเงียบๆเพื่อไม่ให้ภาพพจน์ของผู้พัฒนาสายพันธุ์เสียหายแต่ในกรณีของสายพันธุ์ของสุนัขชิบะ มีการผสมข้ามสายพันธุ์ด้วยความเข้าใจผิดอย่างมากในสุนัขสายพันธุ์ญี่ปุ่น สุนัขมิกาว่า (Mikawa inu) หรือสุนัขซานยูว์ (Sanyuu inu) (สุนัขลูกครึ่งระหว่างสุนัขมิกาว่าและเชาว์เชาว์) ในขณะที่มีสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ๆน้อยลงหลังสงคราม
สุนัขลูกผสมเหล่านี้กับลักษณะที่ผิดมาตรฐานสายพันธุ์ญี่ปุ่นนี้ คือ สุนัขมิคาว่า หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า สุนัขพันธุ์ผสมมิคาว่า นี่คือเหตุผลที่สมาชิกผู้เพาะพันธุ์สุนัขญี่ปุ่น มีความพยายามที่จะกำจัดข้อบกพร่องเหล่านี้ตลอดเวลา จากการผสมข้ามสายพันธุ์นี้ สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อผิดพลาดคือแววตาที่อ่อนลง ตาที่กลม และสีตาเข้มขึ้นจนเกือบดำ แทนที่จะเป็นสีน้ำตาล รูปสามเหลี่ยม
ดังนั้นเราจึงสามารถพูดได้ว่า ประวัติส่วนนี้ของสายพันธุ์สุนัขไม่ได้แสดงคุณค่าของสายพันธุ์ แต่เราควรที่จะมีความรู้และศึกษาทางด้านสายพันธุ์อย่างลึกซึ่งรวมไปถึงความตั้งใจจริงสำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มชิบะบราซิล (Brasil Shiba Club)
เพื่อนนุ๊กกี้ที่ช่วยดูเรื่องภาษา และSeth Bdin edited
——————
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.หมู่เกาะซาฮาลิน
https://www.google.co.th/…/data=!4m5!3m4!1s0x5eda1764b61e9d…
2.สุนัขคาราฟุโต้
https://www.youtube.com/watch?v=xC8cqOo_Nes