บทความอื่นๆ

โภชนาการสำหรับสุนัขชิบะ

29791802_10155454946506586_8364835835910007293_n

สุนัขชิบะ มีพื้นฐานมาจากสุนัขล่าสัตว์ ไล่ล่าสัตว์ขนาดเล็กไปจนสัตว์ขนาดกลาง นก กระต่ายป่า หมูป่า หมีขนาดเล็ก เป็นต้น และเป็นสุนัขขนาดกลาง จึงต้องการสารอาหารที่เหมาะสม โดยจากประสบการณ์ สุนัขชิบะบางตัวมักมีอาการแพ้โปรตีนจากเนื้อไก่ ข้าวโพด หากมีอาการแพ้ควรรีบพบแพทย์ทันที

และงดให้อาหารรวมไปถึงขนมที่ทำจากเนื้อไก่ และลักษณะเม็ดของอาหารสุนัขควรมีขนาดไม่เล็กเกินไปแนะนำขนาดเม็ดที่มีขนาด 1 ซม ขึ้นไป เพื่อให้สุนัขได้เคี้ยวขัดฟัน อันจะทำให้ไม่เป็นปัญหาฟัน และเหงือกอักเสบต่อไป ส่วนอาหารที่แนะนำจะเป็นโปรตีนจาก เนื้อไก่(สำหรับสุนัขที่ไม่มีอาการแพ้) เนื้อปลา เนื้อแกะ หรือเนื้อกระต่าย เป็นต้น

ช่วงอายุระหว่าง 6 – 9 เดือน อาจจะเป็นช่วงที่สุนัขมีการเลือกทาน ทานอาหารไม่หมด ร่างกายเก้งก้าง เพราะอยู่ในช่วงยืด ผู้เลี้ยงจึงไม่ต้องกังวล โดยสุนัขชิบะโตเต็มวัยเพศผู้จะหนักประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม เพศเมีย 7 – 10 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นช่วงอายุ 6 – 9 เดือน อาจจะมีน้ำหนักประมาณ 5 – 8 กิโลกรัมก็ถือเป็นเรื่องปรกติ โดยหากมีพฤติกรรมดังกล่าว ให้เพิ่มการออกกำลังกาย โดยการวิ่ง หรือเล่นกับสุนัข

ดังที่ได้กล่าวตามข้างต้นสุนัขชิบะเป็นสุนัขล่าสัตว์เพราะฉะนั้นจึงควรมีกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งกล้ามเนื้อยังช่วยพยุงสะโพก และสะบ้า ซึ่งเป็นโรคกรรมพันธ์ที่เสี่ยงในสุนัขชิบะ และไม่ควรให้อาหารมากเกินความต้องการ การวัดว่าสุนัขอ้วนหรือไม่อย่างง่ายคือให้ดึงหนังสุนัขขึ้นมา หากมีการยืดหยุ่นมากกว่าปรกติให้พาออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และลดการให้ขนม

 

 

สุนัขชิบะอายุ 5 เดือน

อาการแพ้อาหาร (ตัวอย่าง)

29791786_10216110579941775_5517805920383401984_o.jpg

เจ้าของเคสมีการเปลี่ยนอาหาร เปลี่ยนโปรตีน ต่อมาสุนัขมีอาการคัน ขนพันเป็นกระจุก เจ้าของจึงแหวกขนดูจึงพบผิวหนังมีอาการเป็นแผลและหนอง จึงพาพบสัตวแพทย์และเปลี่ยนอาหารจึงมีอาการดีขึ้น

รวมไปถึงอาการคันหู เช่น มียีสในหู สามาเหตุอาจจะมาจากการแพ้อาหารก็ได้ค่ะ

โภชนาการที่สำคัญสำหรับสุนัข

          อาหารประกอบไปด้วยสารอาหารหลัก (Macronutrients) ,สารอาหารรอง (Micronutrients) รวมไปจนถึงส่วนประกอบต่างๆ แร่ธาตุ. วิตามิน เป็นต้น บ่อยครั้งที่สุนัขมักมีปัญหาด้านสุขภาพจากการขาดสารอาหาร โดยสุนัขควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และสัดส่วนความสมดุลของโปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งโภชนาการที่สุนัขแต่ละตัวนั้นต้องการขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สายพันธุ์ และสุขภาพโดยรวมของสุนัขตัวนั้นๆ เป็นต้น

โปรตีน และ กรดอะมิโน

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่ควรมีในอาหารสุนัข โดยโมเลกุลขนาดใหญ่ของโปรตีนนั้นมาจากกรดอะมิโน และร่างกายสุนัขไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 10 ชนิด เรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) 

อีกทั้งโปรตีนทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และยังช่วยไม่ให้เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อเท้าโดยการ สร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง โดยกรดอะมิโนจำเป็นเหล่านี้ยังช่วยซ่อมแซมร่างกายของสุนัขอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังดีต่อสุขภาพผิวหนัง และเส้นขนอีกด้วย

จากการศึกษาพบว่าสุนัขสามารถดม และพบการขาดกรดอะมิโนจำเป็นในอาหารได้ ซึ่งจะทำให้สุนัขไม่ทานอาหารมื้อนั้นเพราะพบว่าขาดกรดอะมิโนจำเป็นในอาหาร สุนัขมักชอบที่จะทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งแหล่งโปรตีนสำคัญสามารถพบได้จาก เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อปลา ชีส ไข่ เนื้อแกะ และถั่วเหลือง

ถึงแม้ว่าอาหาร เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เครื่องใน จะประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายสุนัข แต่ก็ยังประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง และมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จึงทำให้ร่างกายดูดซึมและย่อยได้ยาก  (สังเกตง่าย ๆได้จากอุจจาระที่มีปริมาณมากและมีกลิ่นเหม็น) จึงทำให้ร่างกายของน้องหมาตอบสนองให้เกิดการแพ้ได้

โดยสำหรับแหล่งโปรตีนที่ดีต่อน้องหมา ควรมีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ไขมันต่ำ สามารถดูดซึมและย่อยได้ง่าย ซึ่งโปรตีนที่ได้รับความนิยมนำมาให้น้องหมากินคือ โปรตีนจากเนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาแฮริง ปลาเทราท์ และปลาซาร์ดีน ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 , 6 ในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยช่วยให้ผิวหนังแข็งแรง ไม่แห้ง กร้าน ลดอาการคัน และบำรุงให้ขนสวยเป็นเงางามค่ะ

โดยแหล่งโปรตีนคุณภาพดี หมายถึงวัตถุดิบที่ได้จากกล้ามเนื้อและอวัยวะของเนื้อสัตว์และปลา ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากเนื้อและกระดูกที่ผ่านความร้อนมาแล้ว (meat and bone meal)

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็น เชื้อเพลิงของสุนัข ซึ่งคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของไฟเบอร์(ผัก) สามารถทำให้สุนัขของคุณมีพลังงานเต็มที่อย่างยาวนานและช่วยป้องกันไม่ให้สุนัขทานอาหารมากไป หรือทำให้อิ่มง่ายนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานเพื่อประหยัดการใช้โปรตีน

แต่เมื่อมีการทานคาร์โบไฮเดรตเกินมากกว่าความต้องการของสุนัข จึงเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงควรระวังเรื่องปริมาณ โดยคาร์โบไฮเดรตในอาหารสำหรับสุนัขที่ไม่มีกิจกรรมมากนัก หรือสุนัขแก่ จะทำให้สุนัขมีน้ำหนักที่มากเกินไป โดยคาร์โบไฮเดรตที่เข้าไปในร่างกายสุดท้ายแล้วจะถูกเก็บไปในรูปของเซลล์ไขมันของร่างกาย ในทางตรงกันข้ามถ้าในอาหารมีคาร์โบไฮเดรตน้อย สำหรับสุนัขที่มีกิจกรรมมากจะทำให้เกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามและทำให้สุนัขขาดสารอาหารนั่นเองค่ะ

คาร์โบไฮเดรตมักพบใน ข้าว, โอ๊ตส์, ข้าวโพด, ข้าวบาร์เล่ย์, และข้าวสาลี

ไขมัน และกรดไขมัน

ไขมัน และกรดไขมันจำเป็น เป็นแหล่งพลังงานระยะยาวของสุนัข และถูกใช้เพื่อรักษาระบบในร่างกายสุนัขเป็นหลัก รวมไปถึงระบบฮอร์โมน ขน อวัยวะสำคัญของร่างกาย และการทำงานของสมอง เป็นต้น ไขมันทำหน้าที่รักษาโครงสร้างของเซลล์ และช่วยให้เซลล์ทำงานโดยปรกติ ผิวหนังและขนที่มีสุขภาพดีมักมาจากอาหารที่มีไขมัน อีกทั้งไขมันยังช่วยในการดูดซึมวิตามินของร่างกาย โดยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยในเรื่องการมองเห็นและความจำ

อย่างไรก็ตามปริมาณไขมันมากเกินไปในอาหารจะทำให้เกิดปัญหากับหัวใจ และภาวะข้ออักเสบ แต่การขาดไขมันในอาหารทำให้มีความน่ากินน้อยลง และทำให้สุนัขอาจมีปัญหาผิวหนังแห้ง และปัญหาขน เพราะฉะนั้นควรให้ไขมันในปริมาณที่เหมาะสมแก่สุนัขตัวนั้นๆ ค่ะ

ในปัจจุบันมีการนำกรดไขมันโอเมก้ามาใช้เพื่อต้านการอักเสบในกรณีต่างในสุนัข เช่น ภาวะแพ้ (aleergies) หรือภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (autoimmune), โรคผิวหนังแบบ sebborrhea, โรคไตวายเรื้อรัง, ข้ออักเสบ (arthritis) และการติดเชื้อยีส เป็นต้น

ไขมันและกรดไขมัน สามารถพบไขมันได้ในแหล่งอาหารต่อไปนี้คือ เนื้อสัตว์ น้ำมันปลา นม  เครื่องในสัตว์ และน้ำมันพืช

แร่ธาตุต่างๆ

แร่ธาตุต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุนัข ทั้งร่างกาย จิตใจ การเจริญเติบโตของลูกสุนัข อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยของเอ็นไซม์ต่างๆ อีกด้วย การขาดแร่ธาตุอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ ของสุนัข ซึ่งปริมาณของความต้องการแร่ธาตุในแต่ละวันมีผลต่อสุนัขมาก เช่น การให้อาหารที่มีแคลเซียมน้อยไปอาจจะทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนต่อมพาราไทรอยด์สูง และการที่ให้อาหารที่มีแคลเซียมมากเกินไปในลูกสุนัขที่กำลังเจริญเติมโตจะทำให้การเจริญเติมโตด้านโครงสร้างกระดูกมีปัญหา

ปัจจัยหลักของแร่ธาตุ ซึ่งแร่ธาตุมีมากมายเป็นสิ่งผันแปรจากวัตถุดิบ โดยควรเปลี่ยนวัตถุดิบของอาหาร เช่น เปลี่ยนชนิดของผัก เปลี่ยนชนิดของเนื้อสัตว์ เปลี่ยนส่วนของเนื้อสัตว์ และอย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ๆ เช่น ปลา หรือเครื่องในสัตว์ เป็นต้น

Covered26-12-05.jpg

ร้านค้าของทางดารุมะสามารถสอบถามการเลี้ยงดูและอาหารได้ที่นี่   https://www.facebook.com/darumapetshop/ 

Ref :

https://breedingbusiness.com/health/

https://www.dogilike.com/content/caring/4090/

https://www.honestdocs.co/contrasting-grain-based-and-meat-based-diets-for-dogs

http://www.click2vet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539308610

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.