บทความอื่นๆ

เรื่องโรคทางพันธุกรรมในสุนัขชิบะและอาคิตะ (สรุปมีตติ้งครั้งที่ 2)

25073461_10203856285005414_7337862674165559357_o.jpg

Meeting Akita & Shiba inu club #2

          ขอบคุณทุกๆ คนที่เข้ามาร่วมงานนะคะ หวังว่าจะได้รับความรู้ ความสนุกกลับไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้นุกสรุปเนื้อหาที่เราไปมีตติ้งมาไว้ข้างล่างนี้ค่ะ

เรื่องโรคทางพันธุกรรมในสุนัขชิบะและอาคิตะ

โรคทางพันธุกรรมมีความสำคัญอย่างไร อาจจะเรียกได้ว่าสำคัญที่สุดในการทำให้สายพันธุ์อยู่รอด และเราคนที่เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งมหัศจรรย์นี้ ซึ่งเราต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยกันพัฒนาให้มีสุนัขที่มีคุณภาพอยู่ในประเทศไทยต่อๆไป ซึ่งโรคที่จะกล่าวต่อไปนี้มีทั้งแบบที่เกิดจากพันธุกรรม และเกิดจากการเลี้ยงดู(รวมไปถึงอายุสุนัข) และอื่นๆ ต่อไปนี้ค่ะ

1.โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia)

2.โรคข้อสะบ้าเคลื่อน (Patellar luxation)

3.จิตประสาทของสุนัข

4.ลักษณะไม่พึงประสงค์ในแต่ละสายพันธุ์ เพราะหากเราชื่นชอบในสายพันธุ์สุนัข เราควรช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้เพาะพันธุ์สายพันธุ์

 

          1.โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) ในสุนัขนั้นมีปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร กระดูกต้นขา มักเกิดจากความล้มเหลวในการสร้างหัวกระดูกขาหลัง (femoral head and neck) เข้ากับข้อสะโพก (acetabulum) ไม่สมดุลกัน ทำให้ข้อสะโพกที่สร้างขึ้นมีลักษณะไม่แข็งแรงและอาจทำให้เกิดกระดูกและข้อบริเวณนั้นเกิดการอักเสบ (osteoarthritis) ในที่สุด ลักษณะเหล่านี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ การสังเกตอย่างง่ายของโรคนี้ถ้าเกิดจากพันธุกรรม จะเป็นตั้งแต่เด็ก และเป็นทั้งสองข้าง หรืออาจจะเกิดจากการเลี้ยงดูหรือเสื่อมตามอายุของสัตว์เลี้ยง

ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดปัญหาของข้อสะโพกเสื่อม มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น พันธุกรรม อุบัติเหตุ การเลี้ยงบนพื้นลื่น เช่นพื้นกระเบื้อง หรือหินอ่อน จะทำให้สุนัขลื่นได้ง่ายเกิดการบาดเจ็บของข้อสะโพกได้ หรือการเลื้ยงไว้ในบ้านที่ไม่มีบริเวณให้ออกกำลังกาย จะทำให้มวลกล้ามเนื้อเล็กลีบ ขาหลังอ่อนแรงได้, ควบคุม หรือ จำกัดปริมาณอาหารที่มากเกินไป การควมคุมอาหารในลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่สมดุล จึงทำให้เกิดปัญหาของโครงสร้างร่างกายได้ เป็นต้น ส่วนสาเหตุของข้อสะโพกเสื่อมนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาเชื่อว่า สาเหตุของข้อเสื่อมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อต่อ (articular cartilage) เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างชีวเคมีและกระบวนการเมแทบอลิซึม(metabolism) ภายในกระดูกอ่อน สาเหตุนั้น เนื่องมาจาก พันธุกรรม การเลี้ยงดู หรือจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

อาการของสุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม จะมีอาการลุกนั่งลำบาก ไม่อยากยืนหรือเดินนานๆ เนื่องจากมีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อสะโพก สองขาหลังอ่อนแรง เดินกะเผลก กล้ามเนื้อลีบ ยืนย่อขา หรือบางตัวไม่สามารถลุกเดินได้ เป็นต้น

โรคนี้ส่งผลต่อสุนัขอย่างไร

– ทรงตัวได้ไม่ดี และทำให้สุนัขเจ็บปวดเมื่อเดินหรือวิ่ง
– ยืนขาสั่น ทรงตัวได้ไม่ดี หรือเดินปัด
– เดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
– กล้ามเนื้อขาหลังฝ่อลีบ เนื่องจากใช้ขาหลังน้อยลงเนื่องจากเจ็บปวด

  เป็นต้น

สังเกตเบื้องต้นจากรูปด้านล่างค่ะ ถ้าพบว่ามีความผิดปรกติให้เข้าพบสัตวแพทย์เฉพาะทาง หรือโรงพยาบาลสัตว์ที่มีเครื่อง Xray เพื่อตรวจคัดกรองโรคค่ะ

โครงสร้าง-09

C8FD~1-09

           2.โรคข้อสะบ้าเคลื่อน (Patellar luxation) การเคลื่อนของสะบ้าในสุนัข ส่วนใหญ่เป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการกระทบกระแทก สุนัขอาจแสดงอาการเจ็บบริเวณข้อเข่า เดินผิดปกติ หรือพบความผิดปกติของรูปร่างของขาที่มีสะบ้าเคลื่อนจนบางครั้งสุนัขไม่สามารถใช้ขารับน้ำหนักได้ สุนัขที่มีสะบ้าเคลื่อนเป็นเวลานานมักพบการฉีกขาดของเอ็นที่หัวเข่าร่วมด้วย ทำให้เกิดเจ็บมากขึ้นและเกิดโรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) ตามมา กระดูกสะบ้าเคลื่อนในสุนัขนั้นเกิดเมื่อกระดูกสะบ้าหลุดออกจากร่องของกระดูกต้นขาที่ควรอยู่โดยที่กระดูกสะบ้าจะสามารถกลับเข้าสู่ที่เดิมได้เมื่อกล้ามเนื้อที่ขาหลังนั้นมีการคลายตัวดังนั้นสุนัขส่วนใหญ่ที่เกิดกระดูกสะบ้าเคลื่อนมักจะยกขาหลังค้างไว้สัก 2-3 นาที

สาเหตุที่ทำให้กระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ การที่กระดูสะบ้าเคลื่อนที่นี้มักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือการได้รับบาดเจ็บ หากเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมคุณสามารถสังเกตเห็นอาการนี้ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 4 เดือนและมักจะแสดงอาการทั้งสองข้าง โดยเกิดจากร่องตรงกลางของกระดูกต้นขาตื้นเกินไป โดยปรกติลูกสะบ้าจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงเท่านั้น แต่ถ้าในสุนัขที่มีปัญหาลูกสะบ้าจะเคลื่อนที่ซ้ายและขวาด้วยนั่นเองค่ะ (สะบ้าจะเคลื่อนที่ออกข้างนอกและข้างในขา ซึ่งจะเรียกว่า medial patellar luxation และ lateral patellar luxation)

โรคนี้ส่งผลต่อสุนัขอย่างไร

– เริ่มทรงตัวได้ไม่ดีและยืนขาสั่น
– ร้องเจ็บเวลาลุกขึ้นนั่ง หรือนอนบนพื้นได้ลำบาก
– เริ่มเดินขาหลังปัดไปปัดมา เดินขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
– น้องหมามีกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เนื่องจากใช้ขาหลังได้น้อยลง

โรคนี้สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าเบื้องต้นโดยดูว่าน้องหมาเริ่มมีอาการเดินปัด ขาไม่ตรง และเจ็บตอนวิ่งหรือเดิน ควรพาพบสัตวแพทย์ด้านกระดูกโดยตรง

C8FD~1-10.jpg

luxating_patella-1_2009.jpg

รูปแสดงถึงกล้ามเนื้อมีผลในการช่วยพยุงสะบ้าให้ไม่เคลื่อนแสดงให้เห็นว่าการพัฒนากล้ามเนื้อในสุนัขนั้นสำคัญมาก *ในกรณีที่เป็นเฟส 1 แต่ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

       การออกกำลังกายเพื่อ เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

          หลักการของการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรง คือ โภชนาการที่ดี และปริมาณของอาหาร ควรต้องมีความสมดุลกับการออกกำลังกาย ตัวอย่าง ของการออกกำลังกาย เช่น จะเพิ่มกล้ามเนื้อส่วนนี้ได้ยังไง ถ้าเป็นส่วนสะบ้าให้หาเบาะรองที่เป็นฟองน้ำสุนัขจะยกขามากกว่าปรกติทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นเพิ่มขึ้น และต้องให้ทานอาหารถูกโภชนาการ แนะนำให้หาอาหารเม็ดดีๆสักยี่ห้อเลยจ้า ส่วนการเพิ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกให้สุนัขลุกนั่งวันละ 10-20 ครั้ง โดยที่ให้จัดท่านั่งไม่ให้ขาแบะออกข้าง ขาต้องชี้ไปด้านหน้าแนบกับตัวสุนัขค่ะ ดูจากรูปด้านล่างได้เลยค่า

          3.จิตประสาทของสุนัข (Dog Temperament) เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมากในการที่จะเพาะพันธุ์สุนัขให้มีภาวะทางอารมณ์ที่ดี ซึ่งความสำคัญนั้นก็คือสุนัขจะต้องไม่ก้าวร้าว หรือหวาดกลัว/ระแวงจนมากเกินไป เช่น สุนัขบางแก้วสมัยก่อน เชื่อว่าทุกคนคงได้ยินความดุมาไม่น้อย แม้กระทั่งปัจจุบัน แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ไม่ดุ เพื่อเข้ากับกระแสสังคมมากขึ้น โดยที่ลักษณะสายพันธุ์ยังคงเดิม

          4.ลักษณะไม่พึงประสงค์ในแต่ละสายพันธุ์ ยกตัวอย่างในสุนัขพันธุ์ชิบะ สีขาวเป็นสีที่ไม่พึงประสงค์ หรือสุนัขชิบะที่มีขนาดเล็กกว่าปรกติเนื่องจากเป็นยีนด้อย ซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำยีนยีนด้อยอื่นๆ ถ่ายทอดไปด้วย อาจจะไม่แสดงในรุ่นพ่อแม่หรือลูก แต่อาจจะแสดงในรุ่นถัดๆไป

หวังว่าการจัดมีตติ้งครั้งนี้จะมีประโยชน์ให้กับทุกๆ คน ไม่มากก็น้อย ขอบคุณทุกคนที่มาร่วมงาน และโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อมา ณ ที่นี้ด้วยค่า

***หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้เพื่อนๆ พาไปพบสัตวแพทย์นะคะ***

อ้างอิง
*สัตวแพทย์คาร่าที่ให้คำปรึกษาเรื่อยมา
*หนังสือ โรคข้อเข่าที่พบบ่อยในสุนัข , common canine stifle joint disease ; กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์

 

*http://www.thonglorpet.com/home/ข้อสะโพกเสื่อมในสุนัขพันธุ์ใหญ่

*http://www.vpathai.org/private_folder/Journal_VPAT/2012_4/04_Canine_Patellar-Chalika.pdf

*https://www.honestdocs.co/patellar-luxation-in-dogs

*ข้อมูลแพทย์เฉพาะทางในประเทศไทยค่ะ https://pantip.com/topic/35370521

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.