มีผู้เพาะพันธุ์สุนัขมากมายต้องการเพาะลูกสุนัขที่น่ารักออกมา แต่ความน่ารักนี้อาจจะกลายเป็นภัยต่อสุนัขหากไม่มีการศึกษาการผสมพันธุ์ที่ดี
ภาวะอัณฑะทองแดง ในสุนัขเพศผู้
Retained Testicle (Cryptorchidism)
โดยปกติลูกสุนัขเพศผู้จะพบอัณฑะทั้ง 2 ใบโดยปรกติจะลงมาก่อนสุนัขครบอายุ 6 เดือน โดยอัณฑะที่ยังค้างอยู่นี้ อาจจะอยู่ในตำแหน่งขาหนีบ หรือช่องท้อง โดยถ้าไม่พบอัณฑะในถุงอัณฑะทั้งสองลูกแพทย์จะวินิจฉัยว่า เป็นภาวะอัณฑะทองแดง
อธิบายง่ายๆ คือมีอัณฑะลูกเดียวลงมาในถุงสีดำ(ถุงอัณฑะ) หรือไม่ลงทั้งสองลูก ซึ่งอาจจะมีโอกาสทำให้เป็นมะเร็งและเนื้องอกได้ค่ะ
รูปแสดงภาวะอัณฑะลงถุงลูกเดียว
รูปแสดงภาวะอัณฑะไม่ลงทั้งสองลูก
โรคอัณฑะทองแดงเกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะอัณฑะทองแดง (cryptorchidism) มีสาเหตุมาจาก sex-limited autosomal recessive gene หรือการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของยีนเพศที่ถูกจำกัด โดยภาวะนี้สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ จึงควรทำหมันสุนัขที่มีสภาวะดังกล่าว
โรคนี้อันตรายต่อสุนัขอย่างไร
มีรายงานพบว่าสุนัขที่มีอัณฑะข้างเดียวมีโอกาสที่จะเกิดเนื้องอก(หรือมะเร็ง) มากกว่าสุนัขปรกติถึง 13 เท่า อีกทั้งยังสามารถเกิดการบิดของอัณฑะได้ (testicular torsion) ซึ่งทำให้สุนัขเจ็บปวด และเป็นอันตรายอย่างมากต่อสุนัข โดยทั่วไปเนื้องอกที่อัณฑะมักพบได้ในอายุระหว่าง 3-5 ปีขึ้นไป
วิธีรักษา
แพทย์จะวินิจฉัยและแนะนำให้ทำหมันสุนัข
โรคนี้ส่งผลอย่างไรต่อลูกสุนัข
คำถามที่หลายๆคนถามก็คือ สามารถผสมพันธุ์ได้มั้ย ซึ่งสามารถพูดได้ว่า สามารถสืบพันธ์ุได้ แต่ไม่ควรผสมพันธุ์ เหตุเพราะสุนัขเพศผู้ที่อัณฑะลงถุง 1 ข้าง สามารถผลิตอสุจิที่จะให้กำเนิดลูกสุนัขได้ และยังถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ไปสู่รุ่นลูก หลาน อีกทั้งสามารถทำให้สุนัขเสี่ยงเป็นมะเร็งและเนื้องอกสูงจึงไม่แนะนำให้ผสมพันธุ์
การทำหมันสุนัข
โดยการทำหมันอายุที่เหมาะสมตามที่สัตวแพทย์แนะนำคือ 6 เดือน ขึ้นไป สำหรับเพศเมียไม่ควรทำหมันในช่วงที่สุนัขเป้นสัด โดยแพทย์จะทำการตรวจเลือด และประเมินสุนัขก่อนทำหมัน หลังจากนั้นสัตวแพทย์จะทำการนัดวันผ่า ควรให้สุนัขงดน้ำและงดอาหารทุกชนิดหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัดหรืออย่างน้อย 6-12 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด จากประสบการณ์สุนัขที่บ้านหลังทำหมัน มีขนที่สวยขึ้น พฤติกรรมก้าวร้าวลดลง (ช่วงติดสัด)
การทำหมันสำหรับสุนัขที่เป็นทองแดง คุณหมอจะทำการกรีดเปิดเช่นเดียวกับการทำหมันปกติ และกรีดเปิดในตำแหน่งที่พบอัณฑะค้างอยู่ด้วย เช่น บริเวณขาหนีบ แต่หากอัณฑะนั้นค้างอยู่ในช่องท้อง คุณหมอจะทำการกรีดเปิดช่องท้องใกล้บริเวณ caudal midline ขนานกับถุงหุ้มลึงค์ เพื่อเอาอัณฑะออกมา ส่วนขั้นตอนการทำหมันอื่นๆ จะคล้ายกับการทำหมันแบบปกติ
Ref.