บทความอื่นๆ

นิทรรศการระดับชาติครั้งที่ 117 ปีเรวะที่ 4 (Grand NIPPO) รอบบ่าย

ภาพบรรยากาศงาน

มีสุนัขเข้าร่วมทั้งหมด

รวมสุนัข 469 ตัว (สุนัขอ้างอิง 1 ตัว สุนัขตรวจ 468 ตัว)

柴犬 372頭紀州犬 51頭四国犬41頭
甲斐犬 3頭北海道犬1頭秋田犬0頭

ชิบะอินุ 372 ตัว คิชูเคน 51 ตัว ชิโกกุเคน 41 ตัว คาอิเคน 3 ตัว ฮอกไกโดเคน 1 ตัว อาคิตะ 0 ตัว

阿州黒小六号【阿州大谷】 壮犬組 優良1席壮犬賞  
ที่ 1 สุนัขเพศผู้โซว์เคนคูมิ (สุนัขอายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีครึ่ง)

秋福龍号【ワタナベ】 雄若2組 優良7席
ที่ 7 เพศผู้ วากะอินุ คลาส 2 (若犬二組) สุนัขอายุมากกว่า 12 เดือนถึง 18 เดือน

春馬号【鈴鹿の邑苑】 雄壮犬組 優良2席壮犬賞
ที่ 2 เพศผู้โซว์เคน คูมิ (壮犬組) สุนัขอายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีครึ่ง

成犬雄B班の並びです。
สุนัขกรุ๊ป B เพศผู้ เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป

仁子号【四国末廣庵】
芦田の美希号【福山芦田荘】 雌壮犬組 優良1席壮犬賞
ที่ 1 เพศเมีย โซว์เคน คูมิ (壮犬組) สุนัขอายุ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีครึ่ง
貴斗丸号【大村西光荘】 成犬雄A班 優良5席
ที่ 5 เพศผู้ กรุ๊ป A เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป
小型雄、成犬A班の並びです。
สุนัขขนาดเล็ก เรียงแถวกัน กรุ๊ป A เซย์เคนคูมิ
代表は雌、吹雪姫号でした。
ตัวแทนเพศเมีย คิชู (เพื่อชิงรางวัลสูงสุดของงาน)
四国犬の代表争い
การชิงตัวแทนสุนัขชิโกกุ
กรรมการตรวจสอบลักษณะ (สุนัขชิโกกุ)
เหล่ากรรมการ
เดินทดสอบการเคลื่อนไหว ในการจูงประกวดญี่ปุ่น สุนัขจะต้องนำหน้าผู้จูงค่ะ
菊皇丸号【あゆみ荘】 雄成犬組 優良1席 成犬賞 準最高賞
ที่ 1 สุนัขเพศผู้ เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป
รางวัล ที่ 2 สุนัขพันธุ์ชิโกกุ
嶺宝女号【ゆきはる荘】 内閣総理大臣賞
代表はこちらも雌でした。
สุนัขชิโกกุ เพศเมีย ได้รางวัลที่ 1 สูงสุดของงาน
รางวัลถ้วยรางวัลนายก
黒王翔号【二代雅荘】雄成犬B班 優良1席 成犬賞 代表は黒王翔号でした。
日本犬保存会賞 外務大臣賞
ที่ 1 สุนัขเพศผู้ กรุ๊ป B รุ่น เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป
ที่ 1 ของสุนัขชิบะ ที่ 2 ของงาน(รางวัลสูงสุด) รางวัลจากรัฐมนตรีต่างประเทศ

古乃浜暖号【番外地荘】小型雌 成犬A班 優良1席成犬賞
日本犬保存会賞 文部科学大臣賞
รางวัลที่ 1 กรุ๊ป A เพศเมีย รุ่น เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป
รางวัลที่ 3 ของรางวัลสูงสุดของนิทรรศการประกวด รางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

黒房女号【地上臼井犬舎】 小型雌成犬B班 優良1席成犬賞
ที่ 1 เพศ เมีย กรุ๊ป B รางวัลรุ่น เซย์เคน คูมิ (成犬組) สำหรับสุนัขอายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป

平成の黒駒号【愛媛飛鳥荘】

Shiba Inu Facts

รางวัลการประกวด NIPPO

รอบรางวัลสูงสุด

จะถูกตัดสินให้กับสุนัขที่ดีที่สุดในงาน จำนวนรางวัลขึ้นอยู่กับจำนวนสุนัข ซึ่งจะมีเพียงแค่ 3% ของสุนัขทั้งหมด (อ่านข้อมูลฮอนบุโชวว์เพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่งสุนัขที่ก้าวร้าวจะไม่มีคานอิและจะถูกกรรมการนิปโป้หักคะแนน และสุนัขที่ได้รางวัลสูงสุดจากรุ่นโซว์เคนและเซย์เคนของแต่ละเพศจะถูกตัดสิน สุนัขแต่ละเพศที่ดีที่สุดรวมไปถึงรางวัลฮอนบุโชวว์ และสุนัขที่ดีที่สุดและสุนัขเพศเมียที่ดีที่สุดจะถูกตัดสินในรอบ Best in Show และ Best Opposite Sex

 The Class Merit Awards are given to
top one third of the entries in each class. The top two or
three dogs, depending on the number of entries, from
Souken and Seiken Classes of each sex are judged for the
Best of Sex and the Nippo Merit Awards. The best dog and
best bitch are judged to decide the Best in Show and the
Best Opposite Sex.

Shiba Inu Facts

ตอนที่ 9 ผลกระทบของการผสมข้ามสายพันธุ์

ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือกระทำการใดๆก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่ข้อมูลรบกวนแชร์บทความแทนเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค๊า ^_^

ติดตามเราได้ที่ FB Page Shibainu Daruma Kensha

Instagram : Daruma Home


ความพยายามในการกำจัดผลกระทบของการผสมข้ามสายพันธุ์

เป็นที่รู้จักกันดีในทุกวันนี้คือสุนัขอาคิตะที่มีขนยาวข้อบกพร่องนี้เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขคาราฟุโต้ (ในภาษาอังกฤษคือพันธุ์ Sakhalin Husky)

13528697_585504148296984_2606332753429710524_n.jpg        ข้อบกพร่องนี้เป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขคาราฟุโต้     (ในภาษาอังกฤษคือพันธุ์ Sakhalin Husky) เมื่อปี ค.ศ.1855-1875 สมัยที่เกาะซาฮาลิน ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศญี่ปุ่น มีความพยายามจะเพิ่มขนาดสุนัขพันธุ์อาคิตะโดยการขาดศิลธรรมและจรรยาบรรณ ลูกสุนัขเหล่านี้มักจะไม่ได้รับการออกใบเพ็ดดีกรีและบ่อยครั้งที่ถูกกำจัดทิ้งอย่างเงียบๆเพื่อไม่ให้ภาพพจน์ของผู้พัฒนาสายพันธุ์เสียหายแต่ในกรณีของสายพันธุ์ของสุนัขชิบะ มีการผสมข้ามสายพันธุ์ด้วยความเข้าใจผิดอย่างมากในสุนัขสายพันธุ์ญี่ปุ่น สุนัขมิกาว่า (Mikawa inu) หรือสุนัขซานยูว์ (Sanyuu inu) (สุนัขลูกครึ่งระหว่างสุนัขมิกาว่าและเชาว์เชาว์) ในขณะที่มีสายพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ๆน้อยลงหลังสงคราม 

13494873_585504154963650_7084428561404944697_n.jpg

สุนัขลูกผสมเหล่านี้กับลักษณะที่ผิดมาตรฐานสายพันธุ์ญี่ปุ่นนี้ คือ สุนัขมิคาว่า หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า สุนัขพันธุ์ผสมมิคาว่า นี่คือเหตุผลที่สมาชิกผู้เพาะพันธุ์สุนัขญี่ปุ่น มีความพยายามที่จะกำจัดข้อบกพร่องเหล่านี้ตลอดเวลา จากการผสมข้ามสายพันธุ์นี้ สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อผิดพลาดคือแววตาที่อ่อนลง ตาที่กลม และสีตาเข้มขึ้นจนเกือบดำ แทนที่จะเป็นสีน้ำตาล รูปสามเหลี่ยม

13495157_585504171630315_5597971602692792956_n.jpg

     ดังนั้นเราจึงสามารถพูดได้ว่า ประวัติส่วนนี้ของสายพันธุ์สุนัขไม่ได้แสดงคุณค่าของสายพันธุ์ แต่เราควรที่จะมีความรู้และศึกษาทางด้านสายพันธุ์อย่างลึกซึ่งรวมไปถึงความตั้งใจจริงสำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มชิบะบราซิล (Brasil Shiba Club)
เพื่อนนุ๊กกี้ที่ช่วยดูเรื่องภาษา และSeth Bdin edited
——————
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.หมู่เกาะซาฮาลิน
https://www.google.co.th/…/data=!4m5!3m4!1s0x5eda1764b61e9d…
2.สุนัขคาราฟุโต้
https://www.youtube.com/watch?v=xC8cqOo_Nes

Gallery, Shiba Inu Facts

ตอนที่ 8 โครงสร้างสุนัขชิบะ

                วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันเรื่อง โครงสร้างมาตรฐานของสุนัขชิบะกันนะคะ โดยจะทำเป็นรูปภาพเพื่อง่ายต่อการเข้าใจนะคะ

โครงสร้าง-01

โครงสร้าง-03-04-07

โครงสร้าง-08โครงสร้าง-09

ซึ่งโครงสร้างที่ผิดปรกติอาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยโรคที่พบบ่อยมีดังนี้

กระดูกสันหลัง

โรคความผิดปกติของกระดูกสันหลัง (Spinal Cord Disorders) (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) อาจจะพบจากความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด การเพิ่มน้ำหนักให้ลูกสุนัขมากเกินไปเพราะกระดูกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่อาจจะทำให้กระดูกผิดรูปได้ อาจจะดูอ้วนท้วนน่ารักแต่จะส่งผลเสียร้ายแรงในอนาคต หรืออาจพบในสุนัขโตแล้วที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป โดยโรคนี้นอกจากจะส่งผลต่อรูปทรงของแนวสันหลังสุนัขแล้ว ยังอาจส่งผลต่อการทำงานของขา การเคลื่อนไหว และการทรงตัวด้วย โดยอาจจะเป็นการเจริญของกระดูกสันหลังที่ผิดลักษณะ อาจจะมีรูปทรงผิดไป หรือมีขนาดผิดไป ส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังผิดปกติตามมา เราอาจเห็นแนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว (บิดงอ) ออกด้านข้าง กระดูกสันหลังโค้งแอ่นลงล่าง หรือกระดูกสันหลังโค้งโก่งขึ้น ซึ่งการเจริญของกระดูกสันหลังที่ผิดลักษณะนี้ มักพบบ่อยในสุนัขที่มีหางบิดม้วนเป็นเกลียว (crew-tailed dog breeds) เช่น Pugs, Bulldogs และ Boston Terriers ซึ่งหางของสุนัขชิบะบางตัวมีหางคล้ายๆ ลักษณะดังกล่าวค่ะ

ขาและสะโพก

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข (Hip dysplasia) (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) ซึ่งโรคนี้สังเกตจากการดูท่าเดินหรือวิ่งของสุนัข ซึ่งเวลาที่สุนัขเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างยิ่ง โดยสาเหตุสามารถเกิดได้จากโรคติดต่อทางพันธุกรรม หรือเกิดจากการเลี้ยงดู เช่น ความอ้วน, การให้อาหารมากจนทำให้โตเร็วเกินไป, การเสริมแคลเซี่ยมมากเกินไป, ความบาดเจ็บในระหว่างช่วงที่เจริญเติบโต, การเลี้ยงที่พื้นลื่น ทำให้เป็นโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

วิธีสังเกตอย่างง่าย

  •  ขาหลังเดินท่าแปลกไปจากเดิม
  • ไม่ค่อยอยากลุกขึ้น หรือเวลาเปลี่ยนอิริยาบทจากท่านอนเป็นท่ายืน อาจจะร้องเจ็บ หรือ ไม่ค่อยอยากวิ่ง
  • บางครั้งอาจเจ็บมากและใช้ขาหลังลดลง จนเริ่มเห็นว่ากล้ามเนื้อขาหลังฝ่อลีบเล็กลง

โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Canine Patellar Luxation) (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ และที่นี่ และที่นี่หรือที่นี่) เป็นความผิดปกติของข้อเข่า (stifle joint) การเคลื่อนของสะบ้าในสุนัข ส่วนใหญ่เป็นแต่กำเนิดหรือจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการกระทบ-กระแทก มักพบการเคลื่อนเข้าด้านใน (medial) มากกว่าเคลื่อนออกด้านข้าง (lateral) สุนัขอาจแสดงอาการเจ็บบริเวณข้อเข่า เดินผิดปกติ หรือ พบความผิดปกติของรูปร่างของขาที่มีสะบ้าเคลื่อน จนบางครั้งสุนัขไม่สามารถใช้ขารับน้ำหนักได้ สุนัขที่มีสะบ้าเคลื่อนเป็นเวลานานมักพบการฉีกขาดของ เอ็นที่หัวเข่าร่วมด้วย ทำให้เกิดเจ็บปวดมากขึ้นและเกิดโรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) ตามมา

วิธีสังเกตอย่างง่าย

  • ปกติจะพบในสุนัขอายุน้อยประมาณ 3-6 เดือน
  • ลักษณะขาโก่งขึ้น
  • แสดงอาการเจ็บขาและไม่ใช้ขารับน้ำหนัก

เนื่องจากอาการสุนัขอาจยังสามารถเดินได้เป็นปกติและไม่แสดงอาการเจ็บ จะมีเพียงบางจังหวะที่เดินขาโก่งหรือ ยกขา จึงต้องพาไปให้สัตวแพทย์ทำการตรวจคลำอาจต้องทำการถ่าย x-ray เพื่อดูปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย

โครงสร้าง-03-03-03-03.jpg

โครงสร้าง-04-04-04.jpg

ติดตามต่อกันคราวหน้านะคะ ขอบคุณที่ติดตามค่า


ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือกระทำการใดๆก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่ข้อมูลรบกวนแชร์บทความแทนเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค๊า ^_^
ติดตามเราได้ที่ FACEBOOK : SHIBAINU DARUMA KENSHA
INSTAGRAM : DARUMA HOME

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

Gallery, Shiba Inu Facts

ตอนที่ 6 กำเนิดสายของสุนัขชิบะ

 

กำเนิดสายของสุนัขชิบะ

jukkoku
(Jukkoku บรรพบุรุษสุนัขชิบะ)
                   ในปี 1928 ด็อกเตอร์ไซโตะ ฮิโรกิชิ พบสุนัขล่าสัตว์สีแดงหางโค้งขึ้น (Sickle Tail) ในหุบเขาลึกของจังหวัดกุมมะโดยด็อกเตอร์ไซโตะตั้งชื่อให้ว่า “จุกโกกุ” (Jukkoku) ซึ่งจุกโกกุมีถิ่นกำเนิดอีกฝากของภูเขาในจังหวัดนากาโน่ ผู้คนท้องถิ่นเรียกสุนัขล่าสัตว์พันธุ์นี้ว่า ชิบะอินุ ซึ่งต่อมาจุกโกกุทำให้ชื่อของสุนัขพันธุ์ชิบะมีชื่อเสียงและนักผสมพันธุ์สัตว์เข้ามาเยี่ยมหมู่บ้านรอบๆภูเขาของนากาโน่เพื่อนำสุนัขชิบะไปยังเมืองต่างๆ
                    ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1932 ซึ่งเป็นวันที่จัดการประกวด NIPPO Show ครั้งแรกซึ่งจัดทีเขตกินซ่า(Ginza) ในจังหวัดโตเกียว จากสุนัข 81 ตัวที่เข้าร่วมมีเพียง 10 ตัวเท่านั้นที่ได้รับรางวัล “Commendation Award” 4 รางวัลเป็นของสุนัขพันธุ์อคิตะ 2 รางวัลเป็นของสุนัขฮอกไกโด 2 รางวัลเป็นของสุนัขคิชู 1 รางวัลเป็นของสุนัขขนาดกลางจากภูมิภาคชินชูและอีก 1 รางวัลของสุนัขชิบะ ซึ่งเป็นของสุนัขชิบะสีแดงเพศผู้ชื่อทาโกะ ซึ่งทาโกะถูกพบในภูเขาในจังหวัดโทยาม่า (ภาคกลางของประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งทาโกะเป็นสุนัขชิบะตัวแรกที่ถูกขึ้นทะเบียนกับ NIPPO
                         ในปี 1933 มีการจัดแสดงสุนัข NIPPO ครั้งที่ 2 ขึ้นมีสุนัขชิบะเพศผู้ชื่อ “ยูวะ” และเพศเมียชื่อ “ยูริ” จากเขตปกครองชิมาเนะ (ภูมิภาคซันอิง 山陰地方 เป็นอนุภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น หมายถึงบริเวณภาคใต้ของเกาะฮนชู) ได้รับรางวัล “Commendation Award” ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เซะกิชูเคน ต่อมาในการจัดแสดงสุนัข NIPPO ครั้งที่ 5 ในปี 1936 สายเซะกิชูเคน ชื่ออิชิโกะ (Ishi Go) สุนัขเพศผู้เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน 1930 ซึ่งถูกขึ้นทะเบียนเลขที่ 170 ได้รับรางวัล  “Commendation Award” เช่นเดียวกัน อิชิ ได้ถูกผสมกับสุนัขชื่อ โกโระ สุนัขขิบะสีดำเพศเมีย จากภูเขาในเกาะชิโกกุ มีลูกชื่อ อากะ ซึ่งในวันที่ 6 มกราคม 1939 อากะ(Aka) ได้รับรางวัล  “Commendation Award” ในการจัดแสดงสุนัข NIPPO ครั้งที่ 8 ซึ่งสุนัขหนุ่มตัวนี้ถูกกำหนดให้เป็นสุนัขพ่อพันธุ์ที่สำคัญ ซึ่งต่อมาอากะถูกผสมกับสุนัขชื่อ ฮานะ(Hana) จากเขตปกครองโตะโตริ (ภูมิภาคซานอิง) ได้ลูกสุนัขชื่อ เบะนิโกะ(Beniko) ซึ่งถูกผสมพันธุ์ต่อกับสุนัขชื่อ เมะอิเกะซึ (Meigetsu) จากเขตยามานาชิ (ภูมิภาคชินชู) ได้ลูกสุนัขชื่อ อากะนิ ซึ่งอากะนิถูกจับคู่กับ เบะนิโกะ (ซึ่งทั้งสองมีพ่อสุนัขเดียวกันคนละแม่) มีลูกสุนัขชื่อ นากะ(Naka) ซึ่ง นากะ เป็นสุนัขที่มีความสำคัญต่อสายสุนัขชิบะปัจจุบันมาก เพราะเป็นต้นสายของสุนัขทั้ง 4 สายที่เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ได้ถูกผสมกับเบะนิโกะซึ่งเป็นแม่ของนากะเอง ในวันที่ 16 เมษายน 1948 ได้ลูกสุนัขชื่อ นากะอิชิ(Nakaichi) และจาก นากะอิชิ ก็มี อิชิ(Ichi) ซึ่งเป็นต้นสายของสายเก็น(Gen-Line) มี ฮาคุบะโนะเก็น (Hakuba no Gen) เชื้อสายของอิชิเป็นต้นสาย และ โกโระอิชิ(Koroichi) ซึ่งเป็นต้นสายของสาย อิชิซึเกะ(Ichisuke) และ เบะนิมารุ(Benimaru) ซึ่งเป็นต้นสายของสาย มาซึมารุ (Matsumaru) และ เท็นโกว(Tenkou) ซึ่งเป็นต้นสายของสาย เท็นโคว(Tenkou) ซึ่งเป็นสายของสุนัขชิบะปัจจุบัน

 12939603_1011137075629707_987762014_n

Naka Go, Akashisou Ishi Go

RED, MALE, NIPPO: 1216 D.O.B: APR. 16, 1948 OWNER: AKASHISO

สายทั้ง 4 สายของสุนัขชิบะ

Hakuba_NO_GEN_de_ROUKAKUSOU
1.Hakuba no Gen of Rokakusou : born September 9, 1970
The Gen line
tenko jonensou1.jpg
2.Tenko of Jonensou : born February 4, 1968
– The Tenkou line
Ichisuke of Inoguchi.jpg
3.Ichisuke of Inoguchi : born February 4, 1968
– The Korotama line ( Ichisuke line)
12596012_1011137588962989_175174022_n
4.Matsumaru of Shinshu Nakajima : born 26 December 1964
– The Matsumaru Line
สายชิบะ-01.jpg
รูปสายของสุนัขชิบะเริ่มแรกค่ะ

แหล่งอ้างอิง

ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือกระทำการใดๆก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่ข้อมูลรบกวนแชร์บทความแทนเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค๊า ^_^
ติดตามเราได้ที่ FACEBOOK : SHIBAINU THAI DARUMA SOU
INSTAGRAM : DARUMA HOME
Shiba Inu Facts

รางวัลคันเซย์เค็น (完成犬)

รางวัลคันเซย์เค็น

(完成犬)

เป็นรางวัลอันทรงเกียรติของสุนัขญี่ปุ่น คันเซย์เค็น หมายถึง สุนัขสมบูรณ์แบบ โดยสมาคมอนุรักษ์พันธุ์สุนัขญี่ปุ่น (NIPPO) (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NIPPO ได้ที่นี่) โดยคำนำหน้าของ NIPPO ซึ่งการได้มานั้นยากมาก โดยชื่อรางวัลนี้จะกลายเป็นคำนำหน้าชื่อ เหมือนกับยศ คล้ายๆกับสุนัขที่ไทยค่ะ เช่น เก็นโบ้จะมีคำนำหน้าว่า TH.CH.Chougenbo Go Daruma Kensha Thailand ซึ่งสุนัขที่จะได้รับคำนำหน้านี้จะต้องเข้าร่วมการประกวดระดับภาคของ NIPPO ซึ่งจะมีรางวัลสูงสุดของการประกวดคือฮอนบุโชวว์ (อ่านข้อมูลรางวัลฮอนบุโชวว์ที่นี่) ซึ่งรางวัลนี้จะมีเพียง 3% ของสุนัขที่มาประกวดทั้งหมด (ถ้ามี 200 ตัว รางวัลนี้จะมีเพียง 6 รางวัลเท่านั้นค่ะ)  และสุนัขที่ได้คำนำหน้าชื่อ คันเซย์เค็นจะต้องได้รับรางวัลถึงฮอนบุโชว์ 6 รางวัล อีกทั้งจะได้ลงนิตยสารของ NIPPO ซึ่งบ่งบอกได้ถึงคุณภาพอย่างแท้จริงของสุนัขที่ได้รางวัลไป

1798003_980657505344331_2087563787832670205_n.jpg

ภาพตัวอย่างสุนัขที่ได้รับรางวัล เป็นสุนัขเพศผู้ค่ะ

12742768_980657882010960_4119906541092480060_n.jpg

ภาพตัวอย่างของสุนัขได้รับรางวัล เป็นสุนัขเพศเมียค่ะ

โดยสุนัขมาตรฐาน NIPPO มีการดูรายละเอียดทั้งความสูง (จะมีสเกลวัดค่ะ) ฟัน การวิ่ง ลักษณะขา หัว หู ซึ่งจะค่อยๆรวบรวมข้อมูลมาให้ผู้อ่านนะคะ

แหล่งอ้างอิง

  • ขอขอบคุณรูปและข้อมูลจากกลุ่มสุนัขชิบะบราซิล (Brasil Shibainu clube)
ข้อมูลนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาลักษณะสายพันธุ์ โดยห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข หรือกระทำการใดๆก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนะคะ ถ้าต้องการเผยแพร่ข้อมูลรบกวนแชร์บทความแทนเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะค๊า ^_^
ติดตามเราได้ที่ Facebook : SHIBAINU DARUMA KENSHA
INSTAGRAM : DARUMA HOME